วันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ไซร




ชื่อวิทยาศาสตร์:  Ficus Benjamina L.
ชื่อวงศ์:  Moraceae
ชื่อสามัญ:  Golden Fig, Weeping Fig
ชื่อพื้นเมือง:  จาเรย (เขมร) ไทร (นครศรีธรรมราช) ไทรกระเบื้อง (ประจวบคีรีขันธ์) ไทรย้อย ไทรย้อยใบแหลม (กรุงเทพฯ)
 

ลักษณะทั่วไป:  ต้น  ไม้สูง 5-10 เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอดทรงกลมแผ่กว้าง สีน้ำตาล กิ่งก้านห้อยย้อยลง โตช้า มีรากอากาศห้อยย้อยสวยงาม
                         ใบ  ใบเดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปรีแกมรูปไข่ กว้าง 2.5-5 เซนติเมตร ยาว 5-11 เซนติเมตร ปลายเรียวแหลมโคนสอบ แผ่นใบค่อนข้างหนาเป็นมัน
                        ดอก  ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบเกิดภายในฐานรองดอก ทรงกลมคล้ายผลไม่มีกลีบดอก 
                        ฝัก/ผล  รูปกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.8 เซนติเมตร เมื่อสุกสีเหลือง
 ฤดูกาลออกดอก:  กุมภาพันธ์
การปลูก: ปลูกลงดิน และปลูกในกระถาง
การดูแลรักษา:  ต้องการแสงแดดจัด น้ำปานกลาง ชอบดินร่วนซุย
การขยายพันธุ์:  เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง หรือ ปักชำ
การใช้ประโยชน์
-    ไม้ประดับ
-    ผล เป็นอาหารของนก
-    สมุนไพร
ถิ่นกำเนิด:  ในอินเดียและภูมิภาคมาเลเซีย
สรรพคุณทางยา:  รากอากาศเป็นยาขับปัสสาวะ แก้ไตพิการ  บำรุงน้ำนมคนไทยโบราณเชื่อว่า: บ้านใดปลูกต้นไทรไว้ประจำบ้านจะทำให้เกิดความร่มเย็น เพราะ คนโบราณได้กล่าวว่า ร่มโพธิ์ ร่มไทร ช่วยทำให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุขนอกจากนี้ยังช่วยค้มครองป้องกันภัยอันตรายทั้งปวงเพราะ บางคนเชื่อว่า ต้น ไทร เป็นไม้ที่ ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งมีเทพารักษ์อาศัยอยู่คอยคุ้มครองพิทักษ์ปวงชนให้มีความอยู่เย็นเป็นสุข 


วาสนา




 วาสนา

ชื่อวิทยาศาสตร์: Dracaena fragrans (L.) Ker-GawI.


ชื่อสามัญ: Cape of Good Hope, Dracaena

ชื่ออื่น: ประเดหวี มังกรหยก (กรุงเทพฯ)

วงศ์: AGAVACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

     ไม้พุ่ม สูง 5-10 ม. ลำต้นกลมจะไม่มีกิ่งก้านสาขา แต่จะมีข้อติดๆ กัน

       ใบ ใบเรียงเวียนสลับถี่ที่ปลายยอด ใบเดี่ยว รูปหอกเรียวยาวโค้งลงสู่พื้นดิน กว้าง 6-10 ซม. ยาว 30-120 ซม. โคนใบแผ่เป็นกาบหุ้มลำต้น ปลายใบแหลมงองุ้มลง ขอบใบเรียบหรืออาจบิดเป็นลอน ใบอาจมีสีเขียวเข้มหมดทั้งใบ หรือสีขาวอมเขียวหรือลายเหลืองนวลหรือลายขาวนวล ตลอดความยาวใบมีความเข้มของลายแตกต่างกัน ตำแหน่งของลายอาจอยู่กลางใบหรือริมใบ


        ดอก ดอกช่อขนาดใหญ่ มีสีชมพูอ่อนถึงขาว ช่อดอกยาว 40-60 ซม. ออกที่ซอกใบใกล้ปลายยอด ใบประดับแห้งสีขาว มีดอกย่อยจำนวนมาก บานเกือบพร้อมกันทั้งช่อ โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 6 กลีบ เมื่อดอกบานเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 ซม. กลิ่นหอมแรง ดอกบานช่วงกลางคืน ฤดูออกดอกอยู่ในช่วงกลางหรือปลายฤดูหนาว ซึ่งจะออกดอกหลังจากวันที่มีความหนาวมากที่สูดเป็นตัวกระตุ้น เกสรเพศผู้ 6 อัน

ทองหลาง

    



 ทองหลาง ชื่อสามัญ Indian Coral Tree, Variegated coral tree, Variegated Tiger’s Claw ชื่อวิทยาศาสตร์ Erythrina variegate Linn. จัดเป็นพืชอยู่ในวงศ์ LEGUMINOSAE ถิ่นกำเนิดเดิมอยู่ในแถบเอเชียเขตร้อนและอบอุ่น อินเดีย แอฟริกา อเมริกาใต้ และ ออสเตรเลีย ชาวสวนรู้จักคุณสมบัติของไม้ต้นนี้อย่างดี มักปลูกไว้ริมคันสวนยกเป็นร่องเพื่อยึดดินและใช้เป็นปุ๋ย โดยเฉพาะทุกส่วนของ ต้น ดอก ใบหนาโต ก้านหนึ่งมีใบย่อยสามใบ เช่นเดียวกับพืชตระกูลถั่ว ซึ่งเป็นปุ๋ยอย่างดีแก่พืชทั้งหลาย จะอุดมด้วยธาตุอาหารต่างๆที่เป็นประโยชน์แก่ดิน นอกจากนี้ รากของต้นทองหลางยังมีคุณสมบัติพิเศษ สามารถดูดเก็บเอาน้ำในดินเลี้ยงลำต้นได้มากกว่าไม้ทุกชนิด ดังนั้นการปลูกต้นทองหลางไว้หลายๆต้นจะทำให้พื้นดินชุ่มชื้น ต้นไม้ใกล้เคียงอื่นๆพลอยเจริญงอกงาม ต้นทองหลางจึงเหมาะเป็นพืชที่บำรุงดินได้เป็นเลิศสามารถตรึงธาตุไนโตรเจนจากอากาศมาเป็นปุ๋ย และเป็นเครื่องมือฟื้นฟูระบบนิเวศน์ที่ดีอย่างหนึ่ง จึงจัดเป็นพืชที่มีความสำคัญต่อประเทศชาติซึ่งใกล้จะถูกลืม
ลักษณะของพรรณไม้

          ลำต้น : เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบ สูงประมาณ 10-20 เมตร ผิวเปลือกลำต้นบาง สีเทาหรือเปลือกเป็นลายคล้ายเปลือกแตกตื้นๆสีเทาอ่อน และเหลืองอ่อนๆ ลำต้นและกิ่งก้านมีหนามแหลมคม หรือบางชนิดมีหนามเล็กๆแหลมคมตลอด เรือนยอดเป็นพุ่มกลมโปร่ง
          ใบ : เป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 3 ใบ ใบกลางจะโตกว่าสองใบด้านข้าง ลักษณะใบเป็นรูปสามเหลี่ยมคล้ายใบโพธิ์ กว้างประมาณ 2-3 นิ้ว ยาวประมาณ 35 นิ้ว ผิวใบเรียบ สีเขียวหรือด่างเหลืองๆใต้ท้องใบมีสีขาวขุ่น ก้านช่อยาวประมาณ 3-5 นิ้ว บางชนิดลักษณะใบมนคล้ายกับใบของถั่วพู ใบโตประมาณ 3-4 นิ้ว ก้านใบจะมีใบย่อย 3 ใบ และบางชนิดใบประกอบ เรียงสลับ มี 3 ใบย่อย มีหูใบ ใบย่อยรูปไข่หรือโค้ง ใบมีขน
          ดอก : เป็นช่อติดกันเป็นกลุ่มออกตามบริเวณข้อต้น หรือโคนก้านใบ ลักษณะดอกคล้ายกับดอกถั่วมีสีแดง หรือชมพู กลีบดอกกว้างประมาณ 1-2 นิ้ว ยาวประมาณ 2-3 นิ้ว ช่อดอกยาวประมาณ 4-8 นิ้ว
          ผล : เป็นฝักแบนโค้งเล็กน้อย ยาวประมาณ 15 -30 ซ.ม. เป็นข้อๆสีน้ำตาลเข้ม โคนฝักจะลีบเล็ก ผลแก่ฝักจะแตกที่ปลายอ้าออก ภายในฝักมีเมล็ดเป็นเหลี่ยม บ้างฝักยาวคอดเป็นข้อๆ สีน้ำตาลเข้ม และบ้างฝักแคบ ภายในมีเมล็ด 2-4 เมล็ด
          เมล็ด : ลักษณะรูปร่างกลม สีแสด
          ออกดอก: เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์
          การขยายพันธุ์ : ด้วยเมล็ด การปักชำ และ การตอน
          สภาพที่เหมาะสม: ร้อนชื้น อบอุ่น อุณหภูมิโดยเฉลี่ย 20 - 30 องศาเซลเซียส ปริมาณระดับน้ำทะเล 1,200 - 1,800 มิลลิเมตร มีฝนกระจายเป็นเวลาหลายเดือน และมีแสงแดดอย่างเพียงพอตลอดปี สภาพดินร่วนซุย มีการระบายน้ำดี ทนต่อสภาพดินเค็ม ทนแล้ง และทนน้ำท่วมได้ดี

ประโยชน์
  1. ปลูกเป็นไม้ประดับ เป็นไม้มงคลประจำบ้าน
  2. ราก ลำต้น ใบ ดอก เป็นปุ๋ยอย่างดีกับพืช ดูดซับน้ำในดินไว้เลี้ยงลำต้นได้มากกว่าพืชทุกชนิด
  3. เป็นพืชพี่เลี้ยง เป็นพืชที่ปลูกขึ้นก่อนพืชประธาน เพื่อมีหน้าที่ช่วยในการบังร่ม บังลม ช่วยสร้างธาตุอาหาร หาอาหาร และรักษาความชื้นให้กับพืชประธาน คือ ต้นทองหลางเป็นพืชที่โตเร็ว สร้างปุ๋ยได้เนื่องจากที่ปมรากมีบักเตรีที่ตรึงไนโตรเจนจากอากาศได้ มีใบจำนวนมาก ใบอ่อนใช้รับประทานเป็นผัก ใบแก่ที่ร่วงหล่นจะผุผังกลายเป็นปุ๋ยอยู่ที่ผิวดิน มีเนื้อไม้เป็นชนิดไม้เนื้ออ่อนผุผังได้ง่าย มีรากจำนวนมากกระจายอยู่ในระดับผิวดินและในระดับลึก ทนทานต่อภาวะน้ำท่วมขังและที่พิเศษ คือสร้างรากใหม่ได้ทุกปี รากเก่าบางส่วนจะผุผัง สลายตัวทำให้เกิดเป็นโพรงอยู่ในดินเป็นท่อระบายอากาศในดิน และเป็นช่อง ให้พืชประธานสามารถแทงรากลงไปได้ง่าย เกษตรกรนิยมปลูกทองหลางไว้ในสวนทุเรียน มังคุด มะไฟ ส่วนใหญ่เป็นในระบบแบบยกร่อง
  4. มีคุณค่าอาหารนึกไม่ถึง คือ ใบทองหลางอุดมด้วยโปรตีนเหมาะที่จะใช้เป็นอาหารสัตว์ เช่น วัว ควาย แพะ แกะ ส่วนใบอ่อนเป็นผักยอดฮิตใช้รับประทานร่วมกับเมี่ยงคำ ร่วมกับส้มตำมะละกอ บ้างเป็นผักจิ้มน้ำพริก เป็นผักสดเคียงเมี่ยง ปลาทู ปลาแหนม เป็นต้น

สบู่ดำ



ชื่อ สบู่ดำ
ชื่อเรียกอื่นๆ : ละหุ่งรั้ว, สบู่หัวเทศ, สลอดป่า, สลอดดำ, สลอดใหญ่, สีหลอด (ภาคกลาง), มะเยา, หมักเยา, มะหัว, มะหุ่งฮั้ว, มะโห่ง, หกเทก (ภาคเหนือ), มะเยา, หมากเย่า, สีหลอด (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), หงส์เทศ, มาเคาะ (ภาคใต้), แจ้ทซู (หม่า), ทะวอง (เขมร), มั่วฮองซิว (แต้จิ๋ว), หมาฟ่งสู้ (จีนกลาง), บูราคีรี (ญี่ปุ่น) และ ผิ่งก้วย (จีน-แต้จิ๋ว)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Jatropha curcas L.
ชื่อสามัญ Physic Nut, Purging Nut, Barbados Nut, Kuikui Pake, Pignon D’inde
วงศ์ : EUPHORBIACEAE

สบู่ดำเป็นพืชที่พบในเขตร้อนและทั่วทุกภาคของประเทศไงทย ปัจจุบันนิยมเพาะปลูกเพื่อเป็นไม้ประดับและเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญในการผลิตน้ำมันไบโอดีเซล ซสรรพคุณทางยาแผนโบราณ พบว่าสารสกัดจากต้นสบู่ดำสามารถใช้รักษาเนื้องอกชนิดต่างๆ บรรเทาและรักษาอาการโรคผิวหนัง บรรเทาอาการของอัมพาต ขับพยาธิ เป็นยาระบาย และบรรเทาอาการอักเสบได้ผลดี และอีกหนึ่งสรรพคุณที่สำคัญนั้นก็คือสารสกัดสบู่ดำมีศักยภาพในการต้านการเจริญของเซลล์มะเร็งอย่างมีประสิทธิภาพ สอคล้องกับผลการวิจัย พบว่า สารสกัดสามารถยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งเต้านมได้ดี และผลการยับยั้งจะเพิ่มมากขึ้นเมื่อเพิ่มความเข้มข้นของสารสกัดอีกด้วย

 ลักษณะสมุนไพร :
สบู่ดำเป็นไม้พุ่มยืนต้นขนาดกลางที่อายุยืนมากกว่า 20 ปี มีความสูงของต้นประมาณ 2-7 เมตร ลำต้นเกลี้ยงเกลาใช้มือหักได้ง่าย เนื้อไม้ไม่มีแก่น ลำต้นและยอดคล้ายละหุ่ง แต่จะไม่มีขน ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับกัน ลักษณะคล้ายกับใบละหุ่ง แต่ใบจะหยักตื้นกว่า ใบค่อนข้างกลมหรือไข่ป้อมๆ ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ มีรอยหยัก 3-5 หยัก ฐานใบเว้าเป็นรูปหัวใจ ส่วนเส้นใบออกจากโคนใบ 5-7 เส้น ดอกออกเป็นช่อกระจุกที่ปลายยอดและตามง่ามใบ ดอกมีขนาดเล็กสีเหลือง มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียจะอยู่บนต้อนเดียวกัน กลีบดอก 5 กลีบเชื่อมติดกันเป็นหลอด ภายในหลอดมีขน ส่วนเกสรตัวผู้มี 10 อัน เรียงเป็นวง 2 วงๆละ 5 อัน ส่วนอับเรณูตั้งตรง ดอกตัวเมียกลีบรองดอกจะไม่ติดกัน มีรังไข่และท่อรังไข่เกลี้ยง บางครั้งมีเกสตัวผู้ฝ่อ 5 อัน ภายในรังไข่มีช่อง 2-4 ช่อง มีไข่อ่อนอยู่ช่องละ 1 หน่วย ผลมีลักษณะกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 2.5 เซนติเมตร ลักษณะเป็นพู มีอยู่ 3 พู ผลมีสีเขียวอ่อน เมื่อสุกหรือแก่จัดแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง
ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : ราก, ยาง, ใบ, ลำต้น, ผล และ เมล็ด
สรรพคุณทางยา :
  1. ราก ช่วยทำให้อาเจียน แก้ท้องเสีย ยาระบาย แก้ซางตาลขโมย แก้อาการไอ
  2. ยาง รักษาโรคปากนกกระจอก ต้านมะเร็ง แก้อาการปวดฟัน ห้ามเลือด ช่วยสมานแผลสด รักษาแผลไฟไหม้หรือแผลจากน้ำร้อนลวก แก้อาการคัน แก้โรคผิวหนัง
  3. ใบ ลดอาการอักเสบ รักษาแผลเรื้อรัง แก้บาดแผล แก้อาการปากและลิ้นเปื่อยพุพอง ทำให้เหงือกแข็งแรง แก้ธาตุพิการ ฟอกเลือด
  4. ลำต้น แก้โรคพุพอง รักษาโรคไหม้ โรคหิด และแผลที่เป็นสะเก็ด
  5. ผล ถ่ายพยาธิ แก้บิด แก้ท้องเสีย
  6. เมล็ด แก้อาการบวมแดง และแก้อาการคัน แก้น้ำเหลืองเสีย รักษาตับอักเสบ ทำให้อาเจียน

พญาสัตบรรณ


 


ชื่อวิทยาศาสตร์ Alstonia scholaris  (L.) R. Br.
วงศ์ APOCYNACEAE
ชื่อสามัญ White Cheesewood
ชื่ออื่น ตีนเป็ด หัสบัน สัตบรรน จะบัน บะซา
ไม้ต้น  ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 15 - 35 เมตร โคนต้นมักเป็นพูพอน
เปลือก  สีเทาอ่อนหรือเทาอมเหลือง ค่อนข้างหนา
ใบ  ใบเดี่ยวเรียงกันเป็นวง 4 - 7 ใบ แผ่นใบรูปมนแกมรูปไข่กลับ ปลายแหลมเป็นติ่งเล็กน้อยโคนสอบ เข้าหากันเป็นรูปลิ่ม ขอบใบเรียบ
ดอก  ดอกเล็ก สีเขียวอมเหลือง หรืออมขาวออกเป็นกลุ่มในช่อซึ่งแยกกิ่งก้าน       ออกจากจุดเดียวกันตามปลายกิ่ง
ผล  เป็นฝักเรียว ยาว 10 - 20 เซ็นติเมตร เมล็ดแบบทรงบรรทัดแคบ ๆ ยาว ประมาณ 7มิลลิเมตร มีขนยาวอ่อนนุ่มปุกปุยติดอยู่เป็นกระจุกที่ปลายทั้งสองข้าง

นิเวศวิทยา ขึ้นกระจายอยู่ห่าง ๆ ในป่าดงดิบชื้นทางภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงใต้   และริมลำห้วยในป่าเบญจพรรณทางภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ออกดอก ตุลาคม - ธันวาคม เริ่มติดฝักประมาณเดือนมกราคม   เมล็ดแก่ประมาณเดือน มีนาคม
ขยายพันธุ์ โดยเมล็ด
ประโยชน์ เนื้อไม้สีขาวอมเหลืองอ่อน เนื้อไม้หยาบ อ่อนแต่เหนียว ตบแต่งง่าย ใช้ทำหีบใส่ของ ลูกทุ่นอวน  รองเท้าไม้ ของเล่นสำหรับเด็ก ไม้จิ้มฟัน เปลือกใช้รักษาโรคบิด แก้หวัด หลอดลมอักเสบ เป็นยาสมานลำไส้  ใบใช้พอกดับพิษต่าง ๆ ยางทำยารักษาแผลเน่าเปื่อย

มะม่วง




ชื่อวิทยาศาสตร์    Mangifera indica Linn.

ชื่อวงศ์     ANACARDIACEAE

ชื่อสามัญ   Mango Tree

ชื่อท้องถิ่น

ทั่วไป เรียก มะม่วงบ้าน, มะม่วงสวน
กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี เรียก ขุ ,โคก
จันทบุรี เรียก เจาะ ช๊อก ช้อก
นครราชสีมา เรียก โตร้ก
มลายู-ภาคใต้ เรียก เปา
ละว้า-เชียงใหม่ เรียก แป
กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน เรียก สะเคาะ, ส่าเคาะส่า
เขมร เรียก สะวาย
เงี้ยว-ภาคเหนือ เรียก หมักโม่ง
จีน เรียก มั่งก้วย
ลักษณะทั่วไป

มะม่วงเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงประมาณ 1030 เมตร ใบ ใบเดี่ยวสีเขียว ขอบใบเรียบ ฐานใบมน ปลาย ใบแหลม ดอก เป็นช่อ กลีบดอกมี 5 กลีบ เกสรสีแดงเรื่อๆ ดอกออกช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ ช่วงฤดูร้อนจะติด ผล ผล ยาวประมาณ 520 ซม. กว้าง 48 ซม. ลูกดิบสีเขียว เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีเหลือง หรือเหลืองส้ม มีเมล็ดภายใน 1 เมล็ด

การปลูก

มะม่วงควรปลูกในหน้าฝนเจริญเติบโตได้ดีในดินอุดมสมบูรณ์ปลูกกลางแจ้ง การขยายพันธุ์ทำได้โดยการเพาะเมล็ดและการตอนกิ่ง

สรรพคุณทางยา

ผลสดแก่ รับประทานแก้คลื่นไส้อาเจียน วิงเวียน กระหายน้ำ
ผลสุก หลังรับประทานแล้วล้างเมล็ดตากแห้ง ต้มเอาน้ำดื่ม หรือบดเป็นผง รับประทานแก้ท้องอืดแน่น ขับพยาธิ
ใบสด 1530 กรัม ต้มเอาน้ำดื่ม แก้ลำไส้อักเสบเรื้อรัง ท้องอืดแน่น เอาน้ำต้มล้างบาดแผลภายนอกได้
เปลือกต้น ต้มเอาน้ำดื่ม แก้ไข้ตัวร้อน
เปลือกผลดิบ คั่วรับประทานร่วมกับน้ำตาล แก้อาการปวดเมื่อยเมื่อมีประจำเดือน แก้ปวดประจำเดือน
คติความเชื่อ

   มะม่วงเป็นต้นไม้มงคลชนิดหนึ่งที่มีมาแต่ครั้งพุทธกาล คนโบราณเชื่อว่าหากนำมาปลูกไว้ในบริเวณบ้านทางทิศใต้ (ทักษิณ) จะทำให้เจ้าของบ้านและผู้อยู่อาศัยมีความร่ำรวยยิ่งขึ้น

ต้นกำเนิด

ยังไม่ทราบที่มาอย่างแน่ชัด แต่ส่วนใหญ่เชื่อว่าแพร่พันธุ์มาจากเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากการที่ภูมิภาคนั้นมีความหลากหลายทางพันธุกรรมและร่องรอยฟอสซิลที่หลากหลาย นับย้อนไปได้ถึง 25-30 ล้านปีก่อนมะม่วงมีความแตกต่างประมาณ 49 สายพันธุ์กระจายอยู่ตามประเทศในเขตร้อนตั้งแต่อินเดียไปจนถึงฟิลิปปินส์ ในประเทศไทยมีการปลูกมะม่วงมาช้านาน
    ผลมะม่วงนำมารับประทานได้ทั้งดิบและสุก มะม่วงดิบเปลือกสีเขียวเนื้อสีขาวส่วนใหญ่มีรสเปรี้ยว ยกเว้นบางพันธุ์ที่เรียกว่ามะม่วงมัน ส่วนผลสุกจะมีสีเหลืองทั้งเปลือกและเนื้อ รับประทานสด หรือ นำไปทำเป็นอาหารเช่น ข้าวเหนียวมะม่วง อีกทั้งมีการนำไปแปรรูป เช่น มะม่วงกวน แบ่งมะม่วงตามความนิยมในการรับประทานเป็น 3 ประเภทคือ

     นิยมรับประทานดิบได้แก่พันธุ์ที่มีรสหวานมันตอนแก่จัด เช่น เขียวเสวย แรด พิมเสนมัน ทองดำ เขียวไข่กา หรือมีรสมันตอนอ่อนไม่เปรี้ยว เช่น ฟ้าลั่น หนองแซง มะม่วงเหล่านี้เมื่อสุกแล้วจะหวานชืด ไม่อร่อย

     นิยมรับประทานสุก เมื่อดิบมีรสเปรี้ยว ต้องบ่มให้สุกก่อนรับประทานเช่น อกร่อง นวลจันทร์ น้ำดอกไม้

    นิยมนำมาแปรรูป แก่จัดมีรสมันอมเปรี้ยว เมื่อสุกหวานอมเปรี้ยวหรือหวานชืด จึงนิยมนำมาแปรรูปเป็นมะม่วงดอง มะม่วงกวนและอื่นๆ เช่น มะม่วงแก้ว พิมเสนเปรี้ยว


แหล่งที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/มะม่วง

มะขาม




มะขาม เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่แตกกิ่งก้านสาขามากไม่มีหนาม เปลือกต้นขรุขระและหนา สีน้ำตาลอ่อน ใบเป็นใบประกอบ ใบเล็กออกตามกิ่งก้านใบเป็นคู่ ใบย่อยเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบและโคนใบมน ประกอบ ด้วยใบย่อย 10–15 คู่แต่ละใบย่อยมีขนาดเล็ก กว้าง 2–5 มม. ยาว 1–2 ซม. ออกรวมกันเป็นช่อยาว 2–16 ซม. ดอก ออกตามปลายกิ่ง ดอกมีขนาดเล็กกลีบดอกสีเหลืองและมีจุดประสีแดง/ม่วงแดงอยู่กลางดอก ผล เป็นฝักยาว รูปร่างยาวหรือโค้ง ยาว 3-20 ซม. ฝักอ่อนมีเปลือกสีเขียวอมเทา สีน้ำตาลเกรียม เนื้อในติดกับเปลือก เมื่อแก่ฝักเปลี่ยนเป็นเปลือกแข็งกรอบหักง่าย สีน้ำตาลเนื้อในกลายเป็นสีน้ำตาลหุ้มเมล็ด เนื้อมีรสเปรี้ยว และ/หรือหวาน ซึ่งฝักหนึ่ง ๆ จะมี/หุ้มเมล็ด 3–12 เมล็ด เมล็ดแก่จะแบนเป็นมันและมีสีน้ำตาล

ชื่อสามัญ :             Tamarind

ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Tamarindus indica Linn.

วงศ์ :                      CAESALPINIACEAE

ชื่ออื่น ๆ :           ส่ามอเกล (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), หมากแกง (ฉาน-แม่ฮ่องสอน), มะขาม, มะขามไทย (ภาคกลาง), ตะลูบ(นครศรีธรรมราช), อำเปียล (สุรินทร์), มะขามกะดาน, มะขามขี้แมว

ลักษณะทั่วไป :

ต้น :     เป็นพรรณไม้ยืนต้น ขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่แตกกิ่งก้านสาขาตรงส่วนยอดของต้น และแข็งแรงมาก ลำต้นมีความสูงประมาณ 60 ฟุต เปลือกมีสีน้ำตาลอ่อน และแตกสะเก็ดเป็นร่องเล็ก ๆ

ใบ :     เป็นไม้ใบรวม จะออกใบเป็นคู่ ๆ เรียงกันตามก้านใบ ก้านหนึ่งมีใบอยู่ประมาณ 10-18 คู่ ลักษณะของใบย่อย เป็นรูปขอบขนาน ปลายใบและโคนใบมน มีสีเขียวแก่

ดอก :   ดอกออกเป็นช่อเล็ก ๆ อยู่ตามบริเวณปลายกิ่ง ช่อหนึ่งจะมีดอกประมาณ 10-15 ดอก ดอกจะเล็กมีกลีบเป็นสีเหลือง และมีจุดประสีแดงอยู่ตรงกลางดอก ดอกจะออกในช่วงฤดูฝน ดอกมีรสเปรี้ยว

ผล :     เมื่อดอกร่วงแล้วก็จะติดผล ซึ่งผลนี้จะมีอยู่ 2 ชนิดคือชนิดฝักกลมเล็กยาว ซึ่งเรียกว่ามะขามขี้แมวและอีกชนิดหนึ่งฝักใหญ่แบน และโค้ง มีรสเปรี้ยว เรียกว่ามะขามกะดานเปลือกนอกเปราะเป็นสีเทาอมน้ำตาล ข้างในผลมีเนื้อเยื่อแรก ๆ เป็นสีเหลืองอ่อน และจะค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเมื่อแก่จัด ซึ่งจะหุ้มเมล็ดอยู่            ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปค่อนข้างกลม ผิวเปลือกเกลี้ยง เป็นสีดำ หรือสีน้ำตาลเข้ม

การขยายพันธุ์ :

เป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ชอบแสงแดด เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกสภาพ มีการขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด หรือการตอนกิ่ง

ส่วนที่ใช้ :

เนื้อไม้ ใบแก่ ใบอ่อนและดอก เนื้อในผล เมล็ดแก่

สรรพคุณ :

เนื้อไม้ ใช้ทำเป็นเขียง ที่มีคุณภาพดีมาก เพราะเป็นไม้ทีเหนียวทนใบแก่ มีรสเปรี้ยวฝาด ใช้นำมาปรุงเป็นยาแก้ไอ แก้โรคบิดขับเสมหะในลำไส้ หรือนำมาต้มผสมกับหัวหอมโกรกศีรษะเด็กในเวลาเช้ามืด แก้หวัดจมูกได้ หรือใช้น้ำที่ต้มให้สตรีหลังคลอดอาบและใช้อบไอน้ำได้เป็นต้น ใบอ่อนและดอก ใช้รับประทานเป็นอาหารได้ เนื้อในผล (มะขามเปียก) ใช้ผลแก่ประมาณ 10-20 ฝักนำมาจิ้มเกลือกิน แล้วดื่มน้ำตามลงไป หรืออาจใช้ทำเป็นน้ำมะขามคั้นเอาน้ำกิน เป็นยาแก้อาการท้องผูก เป็นยาระบาย แก้ไอขับเสมหะ ช่วยลดอุณหภูมิในร่างกาย ลดการกระหายน้ำ หรือใช้เนื้อมะขามผสมกับข่า และเกลือพอประมาณรับประทานเป็นยาขับเลือดขับลม แก้สันนิบาตหน้าเพลิง หรืออาจใช้ผสมกับปูนแดง แล้วนำมาพอกหรือทาบริเวณที่เป็นกลากเกลื้อนหรือฝี เมล็ดแก่ นำมาคั่วให้เกรียมแล้วกระเทาะเปลือกออกใช้ประมาณ 20-30 เม็ด นำมาแช่น้ำเกลือจนอ่อนใช้กินเป็นยาถ่ายพยาธิิไส้เดือนในท้องเด็กได้ หรือใช้เปลือกนอกที่กระเทาะออก ซึ่งจะมีรสฝาดใช้กินเป็นยาแก้ท้องร่วง และแก้อาเจียนได้ดี

อื่น ๆ :

เมล็ดมะขาม ใช้เพาะอย่างถั่วงอกใช้นำมาทำเป็นแกงส้มกิน เป็นอาหารได้และในประเทศอินเดียนิยมใช้เมล็ดในนำมาป่นให้ละเอียดแล้วต้มกับผ้าเพื่อให้ผ้าแข็ง เหมือนกับลงแป้ง
คุณค่าทางโภชนาการ :

ยอดอ่อนและฝักอ่อนมีวิตามิน เอ มาก มะขามเปียกรสเปรี้ยว ทำให้ชุ่มคอ ลดความร้อนของร่างกายได้ดี เนื้อในฝักมะขามที่แก่จัดเรียกว่า "มะขามเปียก" ประกอบด้วยกรดอินทรีย์หลายตัว เช่น กรดทาร์ททาร์ริค กรดซิตริค เป็นต้น ทำให้ออกฤทธิ์ระบายและลดความร้อนของร่างกายลงได้ แพทย์ไทยเชื่อว่า รสเปรี้ยวนี้จะกัดเสมหะให้ละลายได้ด้วย

ส่วนที่นำมาใช้
- ฝักอ่อน ฝักแก่ ดอก
- เนื้อในฝักแก่ (มะขามเปียก)
- เปลือก (สด - แห้ง)
- ใบอ่อน - แก่

สารทีมีคุณประโยชน์
- ยอดอ่อนของมะขาม มีวิตามินเอและวิตามินซีสูง และยังมี
- โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมันกากใบ
- แคลเซียม และฟอสฟอรัส
- มะขามเปียกมีสารกรดอินทรีย์ เช่น กรดซกรด กรดทาทาริค กรดมาลิค
- มีสารพวกกัม (gum) และเพคติน (pectin)

วิธีทำยานวดผม
๑. นำมะขามเปียกมาจำนวนหนึ่ง (มากน้อยตามความต้องการ)
๒. ผสมกับน้ำสะอาด หรือจะเป็นน้ำอุ่นก็ได้ ้
๓. ใช้มือคั้นเนื้อมะขามเพื่อให้ละลายออกผสมกับน้ำ
๔. น้ำที่ได้จะออกลักษณะเป็นเมือก (อย่าให้เหลวมาก)
๕. นำน้ำยานั้นมานวดให้ทั่วศีรษะ (นวดหลังจากสระผมแล้ว)
๖. ใช้ผ้าโพกหรือถุงพลาสติกคลุม ทิ้งไว้ ๑๕ - ๓๐ นาที

ผลที่ได้รับคือ
- ช่วยฆ่าเหา ฆ่าเชื้อรา รักษารากผม
- ที่สำคัญในบางท่าน ที่ต้องการจะเปลี่ยนสีผมให้เป็นไปตามธรรมชาติ คุณจะได้สีผมที่ออกไปเป็นสีเม็ดมะขาม และสีโค้ก

วิธีทำน้ำยาอาบน้ำ
๑. นำใบมะขามมาจำนวนหนึ่ง (ยอด - อ่อนหรือแก่ก็ได้ แล้วแต่จะต้องการ)
๒. นำน้ำสะอาดใส่ในภาชนะ ปี๊บ หม้อ ฯลฯ
๓. นำขึ้นตั้งไฟ
๔. พอน้ำเริ่มเดือด ให้ใส่ใบมะขามที่เตรียมไว้ลงไป แล้วปิดฝา
๕. เคี่ยวอยู่ประมาณ ๓๐ นาที จากที่เดือดอยู่แล้ว
๖. จากนั้นลงจากเตา ปล่อยไว้ให้เย็น หรือจะใช้ผสมกับน้ำเย็น
๗. อาบน้ำยาดังกล่าว
๘. อาบอยู่ ๒ - ๓ ครั้งก็จะเห็นผล
ผลที่ได้รับคือ
- ช่วยให้ผดผื่นคันที่เป็นตามร่างกายหายไป
- ช่วยให้ผิวพรรณดี
- รักษาเชื้อราบนผิวหนังได้ ้
(ภาคอีสานมักจะใช้อาบให้กับแม่ลูกอ่อน หรือคนที่เป็นตุ่มคัน และเป็นกลากเกลื้อน)

สรรพคุณทางยา
- เป็นยาระบายอ่อน ๆ
- แก้ท้องผูก แก้ท้องเดิน
- ถ่ายพยาธิลำไส้ (ใช้เนื้อในจากเมล็ด)
- แก้ไอขับเสมหะ

- น้ำมะขามลดอุณหภูมิในร่างกายและแก้ไข้ได้