ชื่อวิทยาศาสตร์: Ficus Benjamina L.
ชื่อวงศ์: Moraceae
ชื่อสามัญ: Golden Fig, Weeping Fig
ชื่อพื้นเมือง: จาเรย (เขมร) ไทร (นครศรีธรรมราช) ไทรกระเบื้อง (ประจวบคีรีขันธ์) ไทรย้อย ไทรย้อยใบแหลม (กรุงเทพฯ)
ฤดูกาลออกดอก: กุมภาพันธ์ลักษณะทั่วไป: ต้น ไม้สูง 5-10 เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอดทรงกลมแผ่กว้าง สีน้ำตาล กิ่งก้านห้อยย้อยลง โตช้า มีรากอากาศห้อยย้อยสวยงามใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปรีแกมรูปไข่ กว้าง 2.5-5 เซนติเมตร ยาว 5-11 เซนติเมตร ปลายเรียวแหลมโคนสอบ แผ่นใบค่อนข้างหนาเป็นมัน
ดอก ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบเกิดภายในฐานรองดอก ทรงกลมคล้ายผลไม่มีกลีบดอก
ฝัก/ผล รูปกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.8 เซนติเมตร เมื่อสุกสีเหลือง
การปลูก: ปลูกลงดิน และปลูกในกระถาง
การดูแลรักษา: ต้องการแสงแดดจัด น้ำปานกลาง ชอบดินร่วนซุย
การขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง หรือ ปักชำ
การใช้ประโยชน์
- ไม้ประดับ
- ผล เป็นอาหารของนก
- สมุนไพร
ถิ่นกำเนิด: ในอินเดียและภูมิภาคมาเลเซีย
สรรพคุณทางยา: รากอากาศเป็นยาขับปัสสาวะ แก้ไตพิการ บำรุงน้ำนมคนไทยโบราณเชื่อว่า: บ้านใดปลูกต้นไทรไว้ประจำบ้านจะทำให้เกิดความร่มเย็น เพราะ คนโบราณได้กล่าวว่า ร่มโพธิ์ ร่มไทร ช่วยทำให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุขนอกจากนี้ยังช่วยค้มครองป้องกันภัยอันตรายทั้งปวงเพราะ บางคนเชื่อว่า ต้น ไทร เป็นไม้ที่ ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งมีเทพารักษ์อาศัยอยู่คอยคุ้มครองพิทักษ์ปวงชนให้มีความอยู่เย็นเป็นสุข
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น