วันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2559

สบู่ดำ



ชื่อ สบู่ดำ
ชื่อเรียกอื่นๆ : ละหุ่งรั้ว, สบู่หัวเทศ, สลอดป่า, สลอดดำ, สลอดใหญ่, สีหลอด (ภาคกลาง), มะเยา, หมักเยา, มะหัว, มะหุ่งฮั้ว, มะโห่ง, หกเทก (ภาคเหนือ), มะเยา, หมากเย่า, สีหลอด (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), หงส์เทศ, มาเคาะ (ภาคใต้), แจ้ทซู (หม่า), ทะวอง (เขมร), มั่วฮองซิว (แต้จิ๋ว), หมาฟ่งสู้ (จีนกลาง), บูราคีรี (ญี่ปุ่น) และ ผิ่งก้วย (จีน-แต้จิ๋ว)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Jatropha curcas L.
ชื่อสามัญ Physic Nut, Purging Nut, Barbados Nut, Kuikui Pake, Pignon D’inde
วงศ์ : EUPHORBIACEAE

สบู่ดำเป็นพืชที่พบในเขตร้อนและทั่วทุกภาคของประเทศไงทย ปัจจุบันนิยมเพาะปลูกเพื่อเป็นไม้ประดับและเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญในการผลิตน้ำมันไบโอดีเซล ซสรรพคุณทางยาแผนโบราณ พบว่าสารสกัดจากต้นสบู่ดำสามารถใช้รักษาเนื้องอกชนิดต่างๆ บรรเทาและรักษาอาการโรคผิวหนัง บรรเทาอาการของอัมพาต ขับพยาธิ เป็นยาระบาย และบรรเทาอาการอักเสบได้ผลดี และอีกหนึ่งสรรพคุณที่สำคัญนั้นก็คือสารสกัดสบู่ดำมีศักยภาพในการต้านการเจริญของเซลล์มะเร็งอย่างมีประสิทธิภาพ สอคล้องกับผลการวิจัย พบว่า สารสกัดสามารถยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งเต้านมได้ดี และผลการยับยั้งจะเพิ่มมากขึ้นเมื่อเพิ่มความเข้มข้นของสารสกัดอีกด้วย

 ลักษณะสมุนไพร :
สบู่ดำเป็นไม้พุ่มยืนต้นขนาดกลางที่อายุยืนมากกว่า 20 ปี มีความสูงของต้นประมาณ 2-7 เมตร ลำต้นเกลี้ยงเกลาใช้มือหักได้ง่าย เนื้อไม้ไม่มีแก่น ลำต้นและยอดคล้ายละหุ่ง แต่จะไม่มีขน ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับกัน ลักษณะคล้ายกับใบละหุ่ง แต่ใบจะหยักตื้นกว่า ใบค่อนข้างกลมหรือไข่ป้อมๆ ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ มีรอยหยัก 3-5 หยัก ฐานใบเว้าเป็นรูปหัวใจ ส่วนเส้นใบออกจากโคนใบ 5-7 เส้น ดอกออกเป็นช่อกระจุกที่ปลายยอดและตามง่ามใบ ดอกมีขนาดเล็กสีเหลือง มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียจะอยู่บนต้อนเดียวกัน กลีบดอก 5 กลีบเชื่อมติดกันเป็นหลอด ภายในหลอดมีขน ส่วนเกสรตัวผู้มี 10 อัน เรียงเป็นวง 2 วงๆละ 5 อัน ส่วนอับเรณูตั้งตรง ดอกตัวเมียกลีบรองดอกจะไม่ติดกัน มีรังไข่และท่อรังไข่เกลี้ยง บางครั้งมีเกสตัวผู้ฝ่อ 5 อัน ภายในรังไข่มีช่อง 2-4 ช่อง มีไข่อ่อนอยู่ช่องละ 1 หน่วย ผลมีลักษณะกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 2.5 เซนติเมตร ลักษณะเป็นพู มีอยู่ 3 พู ผลมีสีเขียวอ่อน เมื่อสุกหรือแก่จัดแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง
ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : ราก, ยาง, ใบ, ลำต้น, ผล และ เมล็ด
สรรพคุณทางยา :
  1. ราก ช่วยทำให้อาเจียน แก้ท้องเสีย ยาระบาย แก้ซางตาลขโมย แก้อาการไอ
  2. ยาง รักษาโรคปากนกกระจอก ต้านมะเร็ง แก้อาการปวดฟัน ห้ามเลือด ช่วยสมานแผลสด รักษาแผลไฟไหม้หรือแผลจากน้ำร้อนลวก แก้อาการคัน แก้โรคผิวหนัง
  3. ใบ ลดอาการอักเสบ รักษาแผลเรื้อรัง แก้บาดแผล แก้อาการปากและลิ้นเปื่อยพุพอง ทำให้เหงือกแข็งแรง แก้ธาตุพิการ ฟอกเลือด
  4. ลำต้น แก้โรคพุพอง รักษาโรคไหม้ โรคหิด และแผลที่เป็นสะเก็ด
  5. ผล ถ่ายพยาธิ แก้บิด แก้ท้องเสีย
  6. เมล็ด แก้อาการบวมแดง และแก้อาการคัน แก้น้ำเหลืองเสีย รักษาตับอักเสบ ทำให้อาเจียน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น