วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2559

กล้วยพัด

กล้วยพัด


ชื่อพื้นเมือง : กล้วยฝรั่ง กล้วยลังกา กล้วยศาสนา กล้วยพัด (กรุงเทพมหานคร)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ravenala madagascariensis J.F. Gmel.

ชื่อวงศ์ : STRELITZIACEAE

ชื่อสามัญ : Traveller's Tree

ลักษณะ : ลำต้นคล้ายปาล์ม ลำต้นตรงไม่แตกสาขา

ใบคล้ายใบกล้วย การเรียงของใบต่างจากต้นกล้วยคือ เรียงสลับชิดกัน 2 ข้างของลำต้น และแผ่ออกเป็นรูปคล้ายพัด แผ่นใบรูปขอบขนาน โคนก้านขยายออกเป็นกาบหุ้มลำต้น ระหว่างกาบมีน้ำขังอยู่

ช่อดอกออกตามซอกกาบใบระหว่างใบที่ 1-4 นับจากใบล่าง มีกาบใหญ่ 10-12 กาบ มีดอกที่ไม่มีก้าน กลีบดอกสีเหลือง แต่ละดอกมีใบประดับปลายแหลม

ผลรูปร่างคล้ายกล้วย เปลือกแข็งมาก กินไม่ได้

ประโยชน์ : นำมาปลูกเป็นไม้ประดับกันทั่วไป ที่มาของชื่อสามัญได้จากระหว่างกาบหุ้มลำต้นมีน้ำที่คนเดินทางใช้ดื่มได้.

ปาล์มขวด

ปาล์มขวด




ชื่อวิทยาศาสตร์  Pyllanthus  acidus  (L.)  skeels

ชื่อวงศ์  EUPHORBIACEAE

ชื่อสามัญ  Ster  Gooseberry

ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ  ภาคใต้  ยม  หมากยม  หมักยม  ภาคอีสาน  มะยม  ภาคเหนือ

ถิ่นกำเนิด  เขตร้อนของทวีปแอฟริกา

นิเวศวิทยา    แดดจัดหรือในที่ร่มรำไร  ดินร่วนซุย  ความชื้นพอเหมาะ

เวลาออกดอก    ฤดูฝน (ปลาย เมษายน-พฤษภาคม)

การขยายพันธุ์    เพาะเมล็ด  ตอนกิ่ง  ปักชำ

การใช้ประโยชน์          ใบ  นำมาฝึกร้อยมาลัย
                                    ผล  รับประทานเป็นยาระบาย  แก้ไอ  ขัดเสมหะ
                                    เปลือก แก้ไข้ทับฤดู และแก้ผดผื่นคัน
                                    ราก  แก้โรคผิวหนัง  ช่วยซับน้ำเหลืองให้แห้ง
                                    ดอก  ต้มแล้วกรองนำมาแก้โรคในตา  ชำระล้างในตา

ลักษณะวิสัย  : ไม้ต้น
เรือนยอด ทรงพุ่ม : รูปร่ม ความสูง 10 เซนติเมตร ความกว้างทรงพุ่ม  5 เมตร

ถิ่นอาศัย: พืชบก

ลำต้น : ลำต้นเหนือดิน  ตั้งตรงเองได้

เปลือกลำต้น :  ขรุขระ   สีน้ำตาล

ชนิดของใบ : ใบเดี่ยวประกอบ  แบบขนนกปลายคี่  สีเขียว ขนาดใบ กว้าง  13  ซ.ม. ยาว 15 ซ.ม.
                    ลักษณะพิเศษของใบ  แต่ละก้านมี 20-30 คู่ หน้า-หลังของใบสีเหมือนกัน

การเรียงตัวของใบบนกิ่ง  : ตรงข้าม

รูปร่างแผ่นใบ :  รูปไข่

ปลายใบ :  เรียวแหลม

โคนใบ : มน

ขอบใบ : เรียบ

ดอก : ดอกช่อกระจะ

ตำแหน่งออกของดอก : ตามลำต้นหรือกิ่ง

กลีบเลี้ยง : แยกออกจากกัน ปลายแยกเป็น  4 กลีบ  สีชมพู
กลีบดอก :  โคนเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 4 แฉก สีเหลือง

     รูปดอกพิเศษ  รูปกงล้อ
เกสรเพศผู้ : จำนวน 10  อัน  สีเหลืองอ่อน
เกสรเพศเมีย : จำนวน 2  อัน  สีเหลืองเข้ม

รังไข่ : รังไข่เหนือวงกลีบ

ผล : :   ผลเดี่ยว
ผลสด : ผลเมล็ดเดียวแข็ง
สีของผล : ผลอ่อน สีเขียวอมเหลือง  ผลแก่สีเขียวอ่อน
รูปร่างผล :  กลม
ลักษณะพิเศษของผล :   ผลกลมค่อนข้างแบน  ผลแห้งหยักประมาณ 6 หยัก
เมล็ด : จำนวน 1  เมล็ด / ผล
สีของเมล็ด : สีน้ำตาล

รูปร่างเมล็ด :  กลม

วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2559

สัก

สัก



ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Tectona grandis  L.f.

ชื่อสามัญ :   Teak

วงศ์ :   LABIATAE

ชื่ออื่น :  เคาะเยียโอ (ละว้า-เชียงใหม่) ปายี้ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี)  ปีฮือ เป้อยี (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)  เส่บายี้ (กะเหรี่ยง-กำแพงเพชร)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : : ไม้ผลัดใบสูงตั้งแต่ 20 เมตรขึ้นไป ลำต้นเปลาตรง โคนเป็นพูพอนต่ำ ๆ เรือนยอดเป็นพุ่มทรงกลมค่อนข้างทึบ เปลือกสีเทา เรียบหรือแตกเป็นร่องตื้นตามความยาวลำต้น เปลือกในสีเขียวอ่อน ใบ เดี่ยว เรียบตรงข้าม ปลายแหลม โคนมน ยาว 25-40 เซนติเมตร กว้าง 20-30 เซนติเมตร ใบต้นอ่อนจะใหญ่กว่านี้มาก ด้านล่างสีเขียวเข้ม ด้านบนสีอ่อนกว่า ผิวใบมีขนสากมือ มีต่อมเล็ก ๆ สีแดง ขยี้ใบจะมีสีแดงเหมือนเลือด ดอก ขนาดเล็ก สีขาวนวล ออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ผล แห้งค่อนข้างกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 เซนติเมตร เปลือกแข็ง เมล็ด มี 1-3 เมล็ด
ส่วนที่ใช้ :  ใบ เนื้อไม้ เปลือก ดอก

สรรพคุณ :

ใบ 
-  รสเผ็ดเล็กน้อย
- รับประทานเป็นยาลดน้ำตาลในเลือด
- บำรุงโลหิต รักษาประจำเดือนไม่ปกติ แก้พิษโลหิต
- ขับลม ขับปัสสาวะ แก้ทางเดินปัสสาวะอักเสบ
- ทำยาอม แก้เจ็บคอ

เนื้อไม้
- รสเผ็ดเล็กน้อย
- รับประทานเป็นยา ขับลม ขับปัสสาวะ ได้ดีมาก ใช้แก้บวม
- บำรุงโลหิต แก้ลมในกระดูก แก้อ่อนเพลีย
- แก้ไข้ คุมธาตุ
- ขับพยาธิ รักษาโรคผิวหนัง

เปลือก - ฝาดสมาน

ดอก - ขับปัสสาวะ

วิธีและปริมาณที่ใช้


ใช้ใบ - ต้มกับน้ำ รับประทานเป็นยาลดน้ำตาลในเลือด

นนทรี


นนทรี
 


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Peltophorum pterocarpum  (DC.) Backer ex K. Heyne

วงศ์ :  LEGUMINOSAE- CAESALPINIOIDEAE

ชื่อสามัญ  Copper pod  , Yellow flame

ชื่ออื่น :  กระถินป่า  กระถินแดง (ตราด)  สารเงิน (แม่ฮ่องสอน)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :  เป็นไม้ต้นผลัดใบขนาดกลาง ลำต้นค่อนข้างเปลาตรง สูง 8-15 เมตร ชอบขึ้นตามป่าชายหาด เปลือกสีเทาค่อนข้างเรียบหรือแตกเป็นสะเก็ดเล็กๆ ทั่วไป เรือนยอดเป็นรูปร่มหรือทรงกลมกลายๆ ตามกิ่งและก้านอ่อนจะมีขนสีน้ำตาลแดงทั่วไป ส่วนกิ่งแก่เกลี้ยง ใบ เป็นช่อเรียงสลับเวียนกันถี่ๆ ตามปลายกิ่งดูเป็นกลุ่ม ช่อหนึ่ง ยาว 20-27 ซม. ประกอบด้วยแขนงใบย่อยที่ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ๆ  9-13 คู่ แขนงย่อยคู่ต้นๆ จะสั้นกว่าคู่ที่ถัดไป แต่คู่ที่อยู่ที่ปลายช่อก็จะสั้นเช่นกัน ใบย่อยเล็กรูปร่างคล้ายเมล็ดข้าวสารแบนๆ กว้างประมาณ 5 มม. ยาว 10-15 มม. โคนใบเบี้ยว ปลายใบทู่ๆ หลังใบสีเขียวเข้มกว่าท้องใบ โคนก้านใบ ก้านแขนงย่อย และก้านช่อบวม หูใบเป็นเส้นเรียว  ดอก สีเหลืองออกเป็นช่อตั้งตรง ขนาดใหญ่ มีกิ่งก้านแขนงมาก อยู่ตามปลายกิ่งหรือตามง่ามใบตอนปลายๆ กิ่ง ยาว 20-30 ซม. กลีบดอกป้อมบางและยับย่น  โคนกลีบมีขนสีน้ำตาลประปราย เกสรผู้มี 10 อัน ผล เป็นฝักแบนๆ รูปรี ปลายและโคนสอบแหลม กว้างประมาณ 2 ซม. ยาว 5-12 ซม. สีน้ำตาลอมม่วง เมื่อแก่จัดจนแห้งเป็นเป็นสีน้ำตาลดำ แต่ละฝักมี 1-4 เมล็ด เมล็ดแข็งแรงรูปร่างและขนาดเท่าใบย่อย เรียงตามยาวของฝัก ผลแก่ในเดือนพฤศจิกายน  ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม 

ประโยชน์ 
 เนื้อไม้ สีชมพูอ่อน ถึงน้ำตาลแกมชมพู เป็นมันเลื่อม เสี้ยนตรงหรือเป็นคลื่นบ้าง เนื้อหยาบปานกลาง เลื่อยผ่าไสกบตบแต่งง่าย ใช้ทำกระดานปูพื้น เพดาน ฝา เครื่องเรือน และหีบใส่ของ เปลือก มีรสฝาด รับประทานเป็นยาขับโลหิต กล่อมเสมหะและโลหิต กับใช้เป็นยาขับลม ผายลม แก้ท้องร่วง มีผู้ปลูกเป็นไม้ประดับกันมากเพราะพุ่มใบและดอกสวยงาม

วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2559

ประดู่

ประดู่



ชื่อวิทยาศาสตร์ Plerocarpus Indicusชื่อวงศ์ FABACEAEชื่อสามัญ Padaukชื่ออื่นๆ Burmese Rosewood, ประดู่ ดู่บ้าน สะโน (ภาคใต้)ถิ่นกำเนิด ประเทศอินเดีย
การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด
ประวัติและข้อมูลทั่วไป
ประดู่เป็นพรรณไม้ของอินเดีย ชอบแสงแดดจัดดังนั้นจึงเห็นปลูกกันตามริมถนนใน กทม. ทั่วไป
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ประดู่เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ มีลำต้นสูงประมาณ 25 เมตร ใบจะออกรวมกันเป็นช่อ ลักษณะของใบเป็นรูปมนรี ปลายใบแหลม ถ้าขึ้นในที่แล้งจะผลัดใบก่อนออกดอก ดอกออกเป็นช่อมีสีเหลืองสดลักษณะคล้ายดอกถั่ว โคนกลีบเลี้ยงกลีบดอกติดกันเป็นกรวยโค้งเล็กน้อย กลีบดอกมี กลีบ มีขนาดดอกเล็ก ขณะดอกย่อยบานมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาร 0.5- 1 ซม. ดอกบานไม่พร้อมกัน มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ดอกที่ใกล้โรยจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมน้ำตาล ฤดูดอกบานอยู่ในช่วง เดือนพฤษภาคมถึงสิงหาคมประโยชน์
     ใบ : รสฝาด ใช้สระผม พอก ฝี พอกแผล แก้ผดผื่นคัน
    เปลือก : รสฝาดจัด สมานบาดแผล แก้ท้องเสีย บำรุงร่างกาย ทำสัย้อมผ้า
    แก่น : รสขมฝาดร้อน แก้คุดทะราด แก้เสมหะ เลือดกำเดาไหล แก้ไข้ บำรุงเลือด บำรุงกำลัง ขับปัสสาวะ แก้ผื่นคัน
    ผล : แก้อาเจียน แก้ท้องร่วง มีรสฝาดสมาน

การปลูกและดูแลรักษา
ประดู่เป็นไม้กลางแจ้งต้องการแสงแดดจัด ความชื้นสูง ต้องการน้ำปานกลาง สามารถขึ้นได้ในดินทุกชนิด แต่จะให้ดีควรเป็นดินร่วนซุย

การเป็นมงคล
คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นประดู่ไว้ประจำบ้านจะทำให้เกิดพลังแห่งความยิ่งใหญ่เพราะ ประดู่ คือ ความพร้อม ความร่วมือ ร่วมใจสามัคคี มีพลังเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน นอกจากนี้ดอกของประดู่ยังมีลักษณะที่ระดมกันบานเต็มต้นดูลานตา ดังนั้นคนโบราณจึงได้เลือกเอาต้นประดู่เป็นไม้ประจำกอง กองทัพเรือ และคนไทยโบราณยังเชื่ออีกว่า ส่วนของแก่นไม้ยังใช้เป็นศิลปะการดนตรี ที่สำคัญของคนพื้นเมืองในสมัยโบราณอีกด้วย คือใช้ทำเป็นเครื่องเสียงพวกระนาด นั่นก็หมายถึง ความแข็งแกร่ง แข็งแรง
เหตุผลที่เลือก
เพราะต้นประดู่เป็นต้นไม้ที่มักจะถูกมองข้ามไป แต่หากลองมองดีๆแล้ว จะเห็นได้ว่าต้นประดู่เป็นต้นไม้ที่มีประโยชน์มากมาย จึงอยากให้คนอื่นได้เห็นถึงประโยชน์และความสำคัญของต้นประดู่ด้วย

หว้าขี้นก

หว้า ชื่อสามัญ Jambolan plum, Java plum, Jambul
หว้า ชื่อวิทยาศาสตร์ Syzygium cumini (L.) Skeels (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Caryophyllus jambos Stokes, Eugenia cumini (L.) Druce) จัดอยู่ในวงศ์ชมพู่ (MYRTACEAE)
สมุนไพรหว้า มีชื่อเรียกอื่นว่า หว้า หว้าป่า หว้าขาว หว้าขี้นก หว้าขี้แพะ แต่สำหรับชาวฮินดูจะเรียกลูกหว้านี้ว่า “จามาน” หรือ “จามูน”
ต้นหว้าจัดเป็นพรรณไม้ยืนต้นชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นผลไม้ที่มีต้นกำเนิดในประเทศบังคลาเทศ อินเดีย เนปาล ปากีสถาน ศรีลังกา ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย แต่สำหรับในประเทศไทยเรานั้นต้นหว้าเป็นพันธุ์ไม้พระราชทานและเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดเพชรบุรี และยังถือว่าต้นหว้าเป็นไม้มงคลในเรื่องของความสำเร็จและชัยชนะอีกด้วย
ลูกหว้า เป็นผลไม้ที่เราอาจจะไม่ค่อยคุ้นเคยกันเท่าไหร่ แต่คุณรู้หรือไม่ว่าผลไม้ชนิดนี้มีคุณค่าทางโภชนาการสูงเพราะลูกหว้านั้นอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุอย่างวิตามินซี ฟอสฟอรัส แคลเซียม และคาร์โบไฮเดรต ซึ่งถือว่ามีประโยชน์อย่างมากต่อสุขภาพ โดยนิยมนำผลสุกมารับประทานเป็นผลไม้ (ผลสุกจะลักษณะสีม่วงและดำ มีรสออกเปรี้ยวอมหวาน และอมฝาด)และใช้ทำเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ
นอกจากนี้ลูกหว้ายังมีสรรพคุณใช้เป็นยารักษาโรคและอาการต่าง ๆอีกด้วย ด้วยการนำใบและเปลือกของต้นหว้ามาสกัดเป็นน้ำมันหอมระเหย โดยจะมีสรรพคุณที่ค่อนข้างหลากหลายเช่น ช่วยย่อยอาหาร ช่วยลดการจับตัวของลิ่มเลือด มีฤทธิ์ต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย ต้านโรคมะเร็ง เป็นต้น

ประโยชน์ของลูกหว้า

หว้า
  1. ปลูกหว้าอุดมไปด้วยธาตุเหล็กซึ่งมีส่วนช่วยบำรุงกระดูกและฟัน (ผลดิบ)
  2. ผลดิบช่วยแก้อาการท้องเสียได้ (ผลดิบ)
  3. ผลสุกรับประทานแก้อาการท้องร่วงและอาการบิด (ผลสุก)
  4. ใช้รักษาอาการบิด มูกเลือด ท้องเสีย (ใบและเมล็ดหว้า)
  5. นำมาใช้ทำเป็นยาอม ยากวาดคอ แก้ปากเปื่อย แก้คอเปื่อย เป็นเม็ดตามลิ้นและคอ (เปลือกและใบหว้า)
  6. แก้อาการน้ำลายเหนียวข้น (เปลือกและใบหว้า)
  7. ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ด้วยการใช้ใบและเมล็ดหว้านำมาต้มหรือบดให้ละเอียด แล้วนำมารับประทานเพื่อรักษาอาการของโรคเบาหวานได้ เนื่องจากมีสารชนิดหนึ่งที่ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ (ใบและเมล็ดหว้า)
  8. ลูกหว้ามีสรรพคุณช่วยชะลอความแก่และความเสื่อมของเซลล์ได้ (ผล)
  9. ช่วยบรรเทาอาการของวัณโรค และโรคปอดได้ด้วยการนำผลหว้าไปตากแห้งแล้วนำมาบดให้ละเอียดรับประทานเป็นประจำจะช่วยบรรเทาอาการให้ดีขึ้น (ผล)
  10. ช่วยรักษาโรคหอบหืดที่เกิดจากการแพ้อากาศ ด้วยการนำผลหว้าสดมาต้มกับน้ำแล้วดื่มเพื่อบรรเทาอาการ (ผลสด)
  11. ช่วยลดอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและเส้นเลือดอุดตันในสมองได้ (ผล)
  12. ลูกหว้ามีส่วนช่วยต่อต้านการเกิดโรคมะเร็ง (น้ำมันหอมระเหย)
  13. ช่วยในการย่อยอาหาร ด้วยการเพิ่มการหลั่งน้ำดี และน้ำย่อยต่าง ๆ (น้ำมันหอมระเหย)
  14. ช่วยป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร (น้ำมันหอมระเหย)
  15. ช่วยยับยั้งเชื้ออี.โคไล (Escherichia coli) ในช่องทางเดินอาหาร ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการท้องเสียบ่อย ๆ หรืออุจจาระเหลวเป็นน้ำ
  16. ช่วยลดการจับตัวของลิ่มเลือด (น้ำมันหอมระเหย)
  17. มีฤทธิ์ในการต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย (น้ำมันหอมระเหย)
  18. ใบและเมล็ดหว้านำมาตำให้แหลกแล้วใช้ทารักษาโรคผิวหนังได้ (ใบและเมล็ดหว้า)
  19. ใบและเมล็ดหว้าเมื่อนำมาต้มกับน้ำตาล แล้วนำน้ำที่ได้มาล้างแผลเน่าเปื่อยได้ (ใบและเมล็ดหว้า)
  20. น้ำจากลูกหว้าถือเป็น 1 ใน 8 ของน้ำปานะที่พระพุทธองค์ทรงมีพุทธานุญาติแก่พระภิกษุ
  21. ยอดอ่อนของหว้าสามารถนำมารับประทานเป็นผักสดได้ (ยอดอ่อน)
  22. ประโยชน์ของลูกหว้า ผลสุกฃานิยมนำมารับประทานเป็นผลไม้ และใช้ทำเป็นเครื่องดื่มหรือไวน์ได้ (ผลสุก)
  23. เนื้อไม้ของต้นหว้า สามารถนำมาใช้ทำสิ่งปลูกสร้างบ้านเรือนได้อีกด้วย (ต้นหว้า)

คุณค่าทางโภชนาการของลูกหว้าดิบต่อ 100 กรัม

  • ลูกหว้า สรรพคุณพลังงาน 60 กิโลแคลอรี่
  • คาร์โบไฮเดรต 14 กรัม
  • เส้นใย 0.6 กรัม
  • ไขมัน 0.23 กรัม
  • โปรตีน 0.995 กรัม
  • วิตามินบี1 0.019 มิลลิกรัม 2%
  • วิตามินบี2 0.009 มิลลิกรัม 1%
  • วิตามินบี3 0.245 มิลลิกรัม 2%
  • วิตามินบี6 0.038 มิลลิกรัม 3%
  • วิตามินซี 11.85 มิลลิกรัม 14%
  • ธาตุแคลเซียม 11.65 มิลลิกรัม 1%
  • ธาตุเหล็ก 1.41 มิลลิกรัม 11%
  • ธาตุแมกนีเซียม 35 มิลลิกรัม 10%
  • ธาตุฟอสฟอรัส 15.6 มิลลิกรัม 2%
  • ธาตุโพแทสเซียม 55 มิลลิกรัม 1%
  • ธาตุโซเดียม 26.2 มิลลิกรัม 2%
% ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ (ข้อมูลจาก : USDA Nutrient database)
แหล่งอ้างอิง : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, เว็บไซต์สมุนไพรดอทคอม

แคนา

แคนา


ชื่อสมุนไพร
แคนา
ชื่ออื่นๆ
แคป่า แคขาว แคเค็ตถวา(เชียงใหม่) แคทราย(นครราชสีมา) แคแน แคฝอย(ภาคเหนือ) แคภูฮ่อ(ลำปาง) แคยอดดำ(สุราษฎร์ธานี) แคยาว แคอาว(ปราจีนบุรี)
ชื่อวิทยาศาสตร์
Dolichandrone serrulata (DC.) Seem.
ชื่อพ้อง
Stereospermum serrulatua DC.
ชื่อวงศ์
Bignoniaceae
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
             ไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูงได้ถึง 10-20 เมตร ผลัดใบ เปลือกลำต้นสีน้ำตาลอ่อนอมเทา อาจมีจุดดำประ ผิวเรียบ หรือล่อนเป็นเกล็ดขนาดเล็ก ลำต้นเปลาตรง มักแตกกิ่งต่ำ ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว ปลายคี่ ออกตรงข้าม 3-5 คู่ รูปไข่แกมขอบขนาน ปลายแหลม โคนใบเบี้ยว กว้าง 2.5-7 เซนติเมตร ยาว 6-16 เซนติเมตร ขอบใบหยักแบบซี่ฟันตื้นๆ ผิวใบด้านล่างมีขนสั้นประปรายบนก้านใบ ก้านใบย่อยยาว 7-10 มิลลิเมตร ดอกเป็นดอกช่อแบบช่อกระจะสั้น ดอกใหญ่ รูปแตร สีขาว ออกตามปลายกิ่ง ยาว 2-3 ซม. ก้านดอกยาว 1.8-4 เซนติเมตร แต่ละช่อมี 2-10 ดอก บานทีละดอก กลิ่นหอม บานตอนกลางคืน รุ่งเช้าร่วง กลีบเลี้ยงหนาและเหนียว ปลายเรียวเล็กโค้งยาว 3-4 เซนติเมตร จะหุ้มดอกตูมมิด เชื่อมติดกันเป็นหลอดโค้งปลายแหลม เมื่อดอกบานจึงมีรอยแตกทางด้านล่าง มีลักษณะเป็นกาบหุ้มกลีบดอก ติดกันเป็นท่อ ปลายขยายออกเป็นรูประฆัง และแยกออกเป็น 5 แฉก กลีบดอกเชื่อมติดกัน ยาว 16-18 เซนติเมตร หลอดกลีบดอกยาว 13-14 เซนติเมตร ส่วนโคนแคบคล้ายหลอด สีเขียวอ่อน ส่วนบนบานออกคล้ายกรวยสีขาวแกมชมพู แฉกกลีบดอกมี 5 กลีบ รูปไข่ ยาว 3-4 เซนติเมตร ขอบกลีบย่น เป็นคลื่น ดอกสีขาว ดอกตูมสีเขียวอ่อนๆ โคนกลีบมีสีน้ำตาลปน เกสรเพศผู้ 4 อัน ติดอยู่ที่ด้านในของท่อกลีบดอก ปลายแยกมีขนาดสั้น 2 อัน ยาว 2 อัน และมีเกสรเพศผู้ที่เป็นหมัน 1 อัน รูปร่างเป็นเส้นเรียวเล็กรูปเส้นด้าย ยาวประมาณ 1 เซนติเมตร อับเรณูยาวประมาณ 1 เซนติเมตร สีเทาดำ จานฐานดอกรูปเบาะ เป็นพูตื้นๆ เกสรเพศเมีย 1 อันผลเป็นฝัก ช่อละ 3-4 ฝัก แบน รูปขอบขนาน โค้ง บิดเป็นเกลียว ยาว 40-60 เซนติเมตร พบตามป่า ทุ่ง ไร่ นา ป่าเบญจพรรณออกดอกช่วงเดือน มีนาคมถึงมิถุนายน กลีบดอกบานใช้ต้มจิ้มน้ำพริก หรือแกงส้ม

ลักษณะวิสัย

ลักษณะวิสัย

ลำต้น

ใบ

ดอกตูม และ ดอกบาน

ดอก

ดอก

ดอก

ฝักอ่อน

ฝักแก่

ฝักแก่

สรรพคุณ    
             ตำรายาไทย  ใช้  ราก มีรสหวานเย็น แก้เสมหะและลม บำรุงโลหิต เปลือกต้น มีรสหวานเย็น แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ใช้กับสตรีหลังคลอด ใบ มีรสเย็น ใช้ตำพอกแผล หรือต้มน้ำบ้วนปาก ดอก มีรสหวานเย็น ใช้ขับเสมหะ โลหิต และลม ขับผายลม เมล็ด รสหวานเย็น แก้อาการปวดประสาท แก้โรคชัก




ที่มา http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=28

อินทนิล


อินทนิล



ชื่อพื้นเมือง                   อินทนิล, อินทนิลบก

ชื่อวิทยาศาสตร์             Lagerstroemia macrocarpa Wall. 

ชื่อวงศ์                            LYTHRACEAE

ชื่อสามัญ                        Inthaninbok 

ประโยชน์                       ปลูกเป็นไม้ประดับใช้ทำเครื่องเรือนเครื่องมือเกษตรกรรม


ลักษณะเด่นของพืช  ใบรูปไข่แกมขอบขนาน ออกดอกเป็นช่อสีม่วง
มีเกสรตัวผู้สีเหลืองจำนวนมาก ดอกใหญ่และ
ดกมาก ผลแข็งรูปไข่ เมื่อแก่จะแตกเป็นแฉก

ปาล์มน้ำพุ




ปาล์มน้ำพุ



ปาล์มน้ำพุ


  • ชื่อพื้นเมือง                         ปาล์มน้ำพุ
  • ชื่อวิทยาศาสตร์                  Carpentariaacuminata (H. Wendl. & Drude) Becc.
  • ชื่อวงศ์                               ARECACEAE
  • ลักษณะวิสัย                        ปาล์ม
       ปาล์ม     เรือนยอดทรงพุ่มกลม ความสูง 12 เมตร ความกว้างทรงพุ่ม 4.5 เมตร เปลือกลำต้นสีน้ำตาลเทาขรุขระ ไม่มียาง ใบเป็นใบประกอบขนนกปลายคู่ สีเขียว ขนาดแผ่นใบกว้าง 150เซนติเมตร ยาว 300เซนติเมตร จำนวนใบประกอบ 120ใบ ขนาดแผ่นใบย่อยกว้าง 5เซนติเมตร ยาว 60 เซนติเมตร ลักษณะพิเศษของใบเรียวยาว การเรียงตัวของใบบนกิ่งตรงข้าม รูปร่างแผ่นใบรูปเข็ม ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบ ดอกช่อกระจุก ออกดอกตามลำต้นหรือกิ่ง กลีบเลี้ยงแยกจากกันมีจำนวน 3 กลีบ สีขาวรูปดอกพิเศษรูปกากบาท เกสรเพศผู้มีจำนวน 10 อัน สีขาว เกสรเพศเมียมีจำนวน 1 อัน สีขาว รังไข่เหนือวงกลีบ ไม่มีกลิ่น ชนิดของผล ผลเดี่ยว ผลแห้ง ผลเปลือกแข็งมีกาบรูปถ้วยสีของผล ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีแดง รูปร่างผลรี จำนวนเมล็ด 1 เมล็ดต่อ1 ผล สีของเมล็ดเหลือง รูปร่างเมล็ดรี สกัดผลปาล์มทำทิงเจอร์ล้างแผล

วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2559

มะม่วงเขียวเสวย

  มะม่วงเขียวเสวย




ชื่อท้องถิ่น:             มะม่วงเขียวเสวย(มะม่วงมัน)

ชื่อสามัญ:              Mango Tree

ชื่อวิทยาศาสตร์:    Mangifera indica L.

ชื่อวงศ์:   ANACARDIACEAE

ลักษณะวิสัย/ประเภท:          ไม้ยืนต้น

ลักษณะพืช:           เป็นมะม่วงที่ได้รับความนิยมสูงในปัจจุบัน ผลใช้รับประทานดิบคุณภาพดีมาก รสชาติหวานตรงกับความต้องการของคนไทย การเจริญเติบโตและการแตกกิ่งค่อนข้างช้า ผลมีลักษณะค่อนข้างกลมเรียวยาวงอนเล็กน้อย โดยมีส่วนหัวใหญ่หนาและเรียวลงสู่ส่วนปลาย ลักษณะของผลสีเขียวเข้ม เนื้อภายในมีสีขาวละเอียด กรอบ มีเนื้อมาก เสี้ยนค่อนข้างน้อย น้ำหนักของผลประมาณ 350 กรัม เมื่ออ่อนจะมีรสเปรี้ยว เปลือกหนาและเหนียว ผลไม่แตกง่าย มีต่อมไม่ชัด แก่จัดจะมีรสหวานมัน เมื่อสุกเปลือกจะมีสีเขียวปนเหลือง ลักษณะของเนื้อภายในเหลือง รสหวานชืด อายุตั้งแต่ออกดอกจนกระทั่งผลแก่ประมาณ 105 วัน เป็นมะม่วงที่ไม่ทนทานต่อสภาพการถูกน้ำท่วมขัง หากถูกน้ำท่วมขังเพียง 3 วันเท่านั้นต้นก็จะเหี่ยวเฉา ข้อเสียคือจะมียางไหลตามกิ่งและลำต้น แต่มีความต้านทานต่อโรคและแมลงได้ดี


การขยายพันธุ์:      ใช้กิ่ง/ลำต้น

การใช้ประโยชน์/ส่วนที่นำไปใช้ประโยชน์:          รับประทาน/ปลูกขาย

แหล่งที่พบ:             ต.วันยาว

ข้อมูลอื่นๆเพิ่มเติม:               มะม่วง มีวิตามินเอ วิตามินซี วิตามินอี ฟอสฟอรัส ใยอาหาร ช่วยบำรุงสายตา บำรุงเหงือกและฟัน ช่วยให้ผิวพรรณสดใส ลดสิว และริ้วรอยก่อนวัย ลดความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งปากมดลูกและลำไส้ใหญ่

คนที่ชอบทานมะม่วงเป็นคนคล่องตัว ไม่ชอบอยู่นิ่ง ชอบลองของใหม่ๆอยู่เสมอ และเป็นคนที่ออกจะเจ้าชู้

หมากนวล

หมากนวล

ชื่อพื้นเมือง                  หมากนวล หมากคอนวล หมากเยอรมัน หมากมนิลา

ชื่อวิทยาศาสตร์           Veitchia merrillii (Becc.) H.E. Moore

ชื่อวงศ์                         PALMAE              

ชื่อสามัญ                     Manila palm, Christmas palm

แหล่งกระจายพันธุ์      มีถิ่นกำเนิด หมู่เกาะมหาสมุทรแปซิฟิก ตั้งแต่ฟิจิถึงหมู่เกาะฟิลิปปินส์

ลักษณะ ปาล์มต้นเดี่ยว ลำต้นสีน้ำตาลปนเทาขนาดประมาณ 25เซนติเมตร มีคอสีเขียวนวลยาว 30-50 เซนติเมตร มีรอยหลุดของก้านใบถี่ชัดเจน

ใบ ประกอบแบบขนนก   เรียงสลับ ใบย่อยรูปขอบขนาน กว้าง 2-5 ซม.ยาว 45-75ซม. ปลายใบเรียวแหลม โคนใบรูปลิ่ม แผ่นใบสีเขียว  

ดอก สีเหลืองนวล ออกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนงใต้โคนกาบใบ ดอกแยกเพศอยู่ร่วมต้น ช่อดอกยาวประมาณ 30 ซม.  

ผล สดแบบมีเนื้อเมล็ดเดียว ทรงกลมรี ขนาดประมาณ 3เซนติเมตร ติดผลจำนวนมาก ผลสุกสีแดงส้ม

 ประโยชน์   ปลูกเป็นไม้ประดับ

ลีลาวดี

ลีลาวดี

ชื่อพื้นเมือง                  ลีลาวดี,ลั่นทม,จำปาจำปาลาว และจำปาขอม

ชื่อวิทยาศาสตร์           Plumeria spp.

ชื่อวงศ์                         Apocynaceae

ชื่อสามัญ                     Frangipani , Pagoda tree, Temple tree

แหล่งกระจายพันธุ์      พบในบริเวณพื้นที่ตั้งแต่ประเทศเม็กซิโกตอนใต้ถึงตอนเหนือของทวีปอเมริกา โดยเฉพาะหมู่เกาะทะเลแคริบเบียน

ลักษณะ           มีขนาดตั้งแต่พุ่มเตี้ยแคระ จนถึงต้นที่สูงมาก 

ลำต้นแตกกิ่งก้านสขาและพุ่มใบสวยงาม มีน้ำยางสีขาวข้น 

ใบ เป็นใบเดี่ยว มีการเรียงตัวแบบสลับและหนาแน่นใกล้ปลายกิ่ง 

ดอก โดยทั่วไปจะมีขนาดใหญ่ถึงกลาง กลีบดอกมี5 กลีบ  

ฝัก มีลักษณะคล้ายกับฝักต้นชวนชม ฝักอ่อนสีจะมีสีเขียวเมื่อแก่ฝักจะมีสีแดงถึงดำ

ประโยชน์        
ต้น  =   ใช้ปรุงเป็นยารักษาโรคลำไส้พิการของม้า        
ใบ  =  ใบแห้งชงน้ำร้อนดื่มรักษาโรคหอบหืด  
เปลือกราก  =  เป็นยารักษาโรคหนองใน ยาถ่าย แก้โรคไขข้ออักเสบ ขับลม
เปลือกต้น  =  ต้มเป็นยาถ่าย ขับระดู แก้ไข้ แก้โรคโกโนเรีย