วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2559

หางนกยูงไทย

หางนกยูงไทย

ชื่อพื้นเมือง                  หางนกยูงไทย จำพอ ซำพอ ซมพอ ส้มผ่อ นกยูงไทย หนวดแมว

ชื่อวิทยาศาสตร์           Caesalpinia pulcherrima (L.) Sw. 

ชื่อวงศ์                         LEGUMINOSAE-CAESALPINIOIDEAE         
   
ชื่อสามัญ                     Barbados  Pride , peacock  Flower

แหล่งกระจายพันธุ์      พื้นที่ป่าแห้งแล้ง ในเกาะมาดากัสการ์ที่อยู่ในมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งอยู่นอกชายฝั่งตะวันออกของทวีปแอฟริกา และก็ยังมีขึ้นในเขตร้อนของแผ่นดินใหญ่ทวีปแอฟริกา

ลักษณะ ไม้พุ่ม สูง 3-4 ม. ลำต้นเกลี้ยงหรือมีหนาม แตกกิ่งก้านสาขาจำนวนมาก เรือนยอดโปร่ง 

ใบ ประกอบแบบขนนกสองชั้นปลายคู่ เรียงสลับมีใบย่อย 7-11 คู่ ใบย่อยออกเป็นคู่เรียงตรงข้ามกัน รูปรีแกมขอบขนานหรือรูปไข่กลับ ปลายใบมนหรือเว้า ฐานใบมนหรือเบี้ยว ขอบใบเรียบ ผิวด้านหลังใบสีเข้มกว่าด้านท้อง 

ดอก ช่อออกบริเวณซอกใบ ปลายกิ่ง หรือส่วนยอดของต้น ดอกมีหลายสีตามพันธุ์ กลีบดอก กลีบ กลีบใหญ่ กลีบ กลีบเล็ก กลีบ รูปช้อน ขอบกลีบหยักเป็นคลื่น เกสรเพศผู้ 10 อัน เกสรเพศเมีย อัน รังไข่อยู่เหนือฐานรองดอก กลีบเลี้ยง กลีบ โคนเชื่อม ปลายแยก 

ผล เป็นฝักแบน เมล็ดรูปแบนรี  

ประโยชน์  นิยมปลูกไว้เป็นไม้ดอกไม้ประดับ เมล็ดในฝักดิบกินได้ โดยแกะเปลือกหุ้มเมล็ด ซึ่งมีรสฝาดทิ้งเนื้อในมีรสหวานมันเล็กน้อย  เป็นสมุนไพร ราก มีรสเฝื่อน เป็นยาขับระดู แก้วัณโรคระยะบวม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น