หว้า ชื่อสามัญ Jambolan plum, Java plum, Jambul
หว้า ชื่อวิทยาศาสตร์ Syzygium cumini (L.) Skeels (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Caryophyllus jambos Stokes, Eugenia cumini (L.) Druce) จัดอยู่ในวงศ์ชมพู่ (MYRTACEAE)
สมุนไพรหว้า มีชื่อเรียกอื่นว่า หว้า หว้าป่า หว้าขาว หว้าขี้นก หว้าขี้แพะ แต่สำหรับชาวฮินดูจะเรียกลูกหว้านี้ว่า “จามาน” หรือ “จามูน”
ต้นหว้าจัดเป็นพรรณไม้ยืนต้นชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นผลไม้ที่มีต้นกำเนิดในประเทศบังคลาเทศ อินเดีย เนปาล ปากีสถาน ศรีลังกา ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย แต่สำหรับในประเทศไทยเรานั้นต้นหว้าเป็นพันธุ์ไม้พระราชทานและเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดเพชรบุรี และยังถือว่าต้นหว้าเป็นไม้มงคลในเรื่องของความสำเร็จและชัยชนะอีกด้วย
ลูกหว้า เป็นผลไม้ที่เราอาจจะไม่ค่อยคุ้นเคยกันเท่าไหร่ แต่คุณรู้หรือไม่ว่าผลไม้ชนิดนี้มีคุณค่าทางโภชนาการสูงเพราะลูกหว้านั้นอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุอย่างวิตามินซี ฟอสฟอรัส แคลเซียม และคาร์โบไฮเดรต ซึ่งถือว่ามีประโยชน์อย่างมากต่อสุขภาพ โดยนิยมนำผลสุกมารับประทานเป็นผลไม้ (ผลสุกจะลักษณะสีม่วงและดำ มีรสออกเปรี้ยวอมหวาน และอมฝาด)และใช้ทำเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ
นอกจากนี้ลูกหว้ายังมีสรรพคุณใช้เป็นยารักษาโรคและอาการต่าง ๆอีกด้วย ด้วยการนำใบและเปลือกของต้นหว้ามาสกัดเป็นน้ำมันหอมระเหย โดยจะมีสรรพคุณที่ค่อนข้างหลากหลายเช่น ช่วยย่อยอาหาร ช่วยลดการจับตัวของลิ่มเลือด มีฤทธิ์ต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย ต้านโรคมะเร็ง เป็นต้น
ประโยชน์ของลูกหว้า
- ปลูกหว้าอุดมไปด้วยธาตุเหล็กซึ่งมีส่วนช่วยบำรุงกระดูกและฟัน (ผลดิบ)
- ผลดิบช่วยแก้อาการท้องเสียได้ (ผลดิบ)
- ผลสุกรับประทานแก้อาการท้องร่วงและอาการบิด (ผลสุก)
- ใช้รักษาอาการบิด มูกเลือด ท้องเสีย (ใบและเมล็ดหว้า)
- นำมาใช้ทำเป็นยาอม ยากวาดคอ แก้ปากเปื่อย แก้คอเปื่อย เป็นเม็ดตามลิ้นและคอ (เปลือกและใบหว้า)
- แก้อาการน้ำลายเหนียวข้น (เปลือกและใบหว้า)
- ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ด้วยการใช้ใบและเมล็ดหว้านำมาต้มหรือบดให้ละเอียด แล้วนำมารับประทานเพื่อรักษาอาการของโรคเบาหวานได้ เนื่องจากมีสารชนิดหนึ่งที่ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ (ใบและเมล็ดหว้า)
- ลูกหว้ามีสรรพคุณช่วยชะลอความแก่และความเสื่อมของเซลล์ได้ (ผล)
- ช่วยบรรเทาอาการของวัณโรค และโรคปอดได้ด้วยการนำผลหว้าไปตากแห้งแล้วนำมาบดให้ละเอียดรับประทานเป็นประจำจะช่วยบรรเทาอาการให้ดีขึ้น (ผล)
- ช่วยรักษาโรคหอบหืดที่เกิดจากการแพ้อากาศ ด้วยการนำผลหว้าสดมาต้มกับน้ำแล้วดื่มเพื่อบรรเทาอาการ (ผลสด)
- ช่วยลดอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและเส้นเลือดอุดตันในสมองได้ (ผล)
- มีส่วนช่วยต่อต้านการเกิดโรคมะเร็ง (น้ำมันหอมระเหย)
- ช่วยในการย่อยอาหาร ด้วยการเพิ่มการหลั่งน้ำดี และน้ำย่อยต่าง ๆ (น้ำมันหอมระเหย)
- ช่วยป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร (น้ำมันหอมระเหย)
- ช่วยยับยั้งเชื้ออี.โคไล (Escherichia coli) ในช่องทางเดินอาหาร ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการท้องเสียบ่อย ๆ หรืออุจจาระเหลวเป็นน้ำ
- ช่วยลดการจับตัวของลิ่มเลือด (น้ำมันหอมระเหย)
- มีฤทธิ์ในการต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย (น้ำมันหอมระเหย)
- ใบและเมล็ดหว้านำมาตำให้แหลกแล้วใช้ทารักษาโรคผิวหนังได้ (ใบและเมล็ดหว้า)
- ใบและเมล็ดหว้าเมื่อนำมาต้มกับน้ำตาล แล้วนำน้ำที่ได้มาล้างแผลเน่าเปื่อยได้ (ใบและเมล็ดหว้า)
- น้ำจากลูกหว้าถือเป็น 1 ใน 8 ของน้ำปานะที่พระพุทธองค์ทรงมีพุทธานุญาติแก่พระภิกษุ
- ยอดอ่อนของหว้าสามารถนำมารับประทานเป็นผักสดได้ (ยอดอ่อน)
- ประโยชน์ของลูกหว้า ผลสุกฃานิยมนำมารับประทานเป็นผลไม้ และใช้ทำเป็นเครื่องดื่มหรือไวน์ได้ (ผลสุก)
- เนื้อไม้ของต้นหว้า สามารถนำมาใช้ทำสิ่งปลูกสร้างบ้านเรือนได้อีกด้วย (ต้นหว้า)
คุณค่าทางโภชนาการของลูกหว้าดิบต่อ 100 กรัม
- พลังงาน 60 กิโลแคลอรี่
- คาร์โบไฮเดรต 14 กรัม
- เส้นใย 0.6 กรัม
- ไขมัน 0.23 กรัม
- โปรตีน 0.995 กรัม
- วิตามินบี1 0.019 มิลลิกรัม 2%
- วิตามินบี2 0.009 มิลลิกรัม 1%
- วิตามินบี3 0.245 มิลลิกรัม 2%
- วิตามินบี6 0.038 มิลลิกรัม 3%
- วิตามินซี 11.85 มิลลิกรัม 14%
- ธาตุแคลเซียม 11.65 มิลลิกรัม 1%
- ธาตุเหล็ก 1.41 มิลลิกรัม 11%
- ธาตุแมกนีเซียม 35 มิลลิกรัม 10%
- ธาตุฟอสฟอรัส 15.6 มิลลิกรัม 2%
- ธาตุโพแทสเซียม 55 มิลลิกรัม 1%
- ธาตุโซเดียม 26.2 มิลลิกรัม 2%
% ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ (ข้อมูลจาก : USDA Nutrient database)
แหล่งอ้างอิง : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, เว็บไซต์สมุนไพรดอทคอม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น